เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีวันสำคัญหลายๆ วัน หนึ่งในนั้นก็คือ “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ที่ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีนั่นเอง ในโอกาสที่วันภาษาไทยเวียนกลับมาอีกครั้ง ShopBack Blog จึงอยากชวนเพื่อนๆ ชาวโซเชียลมาเช็ก 100 คำไทยที่มักเขียนผิดบ่อยๆ และคำทับศัพท์ที่เราควรรู้จักและเขียนให้ถูกต้อง จะได้ใช้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพกันนะคะ
วันภาษาไทยแห่งชาติ ที่มาและความสำคัญที่เราควรรู้

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญที่เกิดขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงอภิปรายเรื่องปัญหาการใช้คำภาษาไทยร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษา ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเน้นย้ำและน้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติ ทางรัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันภาษาไทย ซึ่งในวันนี้ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานต่างๆ รวมถึงทางโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ก็จะจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้ทุกคนหันมาใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องนั่นเองค่ะ
100 คำไทยที่มักเขียนผิด รู้ก่อน เปลี่ยนตัวเองให้เขียน (และใช้) ถูกได้ก่อน !
คำศัพท์ภาษาไทยของเรานั้นมีที่มาหลากหลายทั้งจากคำไทยแท้และการนำคำจากต่างประเทศมาประสมจนเกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ บางครั้งการออกเสียงก็ใกล้เคียงกันแต่คนละความหมาย หรือแม้แต่การเขียนก็มีสระหรือวรรณยุกต์ใกล้กันจนหลายคนสับสน เพราะฉะนั้นลองมาดู 100 คำไทยที่มักเขียนผิดบ่อยๆ จำไว้ก่อนจะได้นำไปใช้ให้ถูกนะคะ
คำไทยที่มักเขียนผิด | คำที่เขียนถูกต้อง |
กระเพรา | กะเพรา |
กระเทย | กะเทย |
กรีทา | กรีฑา |
กระทันหัน | กะทันหัน |
เกมส์ (การละเล่น) | เกม |
กาลเทศะ | กาลเทศะ |
เกสร | เกสร |
กฏ | กฎ |
เกียรติ์ | เกียรติ |
ขมักเขม้น | ขะมักเขม้น |
ขาดดุลย์ | ขาดดุล |
ไข่มุข | ไข่มุก |
ครองราช | ครองราชย์ |
คลีนิก | คลิกนิก |
คนอง | คะนอง |
คำนวน | คำนวณ |
คุ๊กกี้ | คุกกี้ |
เค๊ก | เค้ก |
โควต้า | โควตา |
งบดุลย์ | งบดุล |
จงกลม | จงกรม |
จั๊กจั่น | จักจั่น |
จักรสาน | จักสาน |
เจตจำนงค์ | เจตจำนง |
เจียรไน | เจียระไน |
ชลอ | ชะลอ |
เซ็นต์ชื่อ | เซ็นชื่อ |
เซ็นติเมตร | เซนติเมตร |
ฌาณ | ฌาน |
ดอกไม้จันทร์ | ดอกไม้จันทน์ |
ดำรงค์ | ดำรง |
ตำหรับ | ตำรับ |
ใต้ฝุ่น | ไต้ฝุ่น |
ไตรยางค์ | ไตรยางศ์ |
ใต้หวัน | ไต้หวัน |
ถนนราดยาง | ถนนลาดยาง |
ทะยอย | ทยอย |
ทะแยง | ทแยง |
ทศกัณฑ์ | ทศกัณฐ์ |
ทนุถนอม | ทะนุถนอม |
พังทะลาย | พังทลาย |
ทะเลสาป | ทะเลสาบ |
ฑีฆายุโก | ทีฆายุโก |
ฑูต | ทูต |
ทูลหัว | ทูนหัว |
เท่ห์ | เท่ |
เทิญ | เทอญ |
เทิม | เทอม |
ท้าวความ | เท้าความ |
เทอด | เทิด |
แท๊กซี่ | แท็กซี่ |
แซกแซง | แทรกแซง |
โทรศัพย์ | โทรศัพท์ |
ธนาบัตร | ธนบัตร |
ธนาณัต / ธนานัติ | ธนาณัติ |
ทำเนียม | ธรรมเนียม |
บิณฑบาตร | บิณฑบาต |
ตักบาต | ตักบาตร |
เบญจเพศ | เบญจเพส |
เบรค | เบรก |
ปฏิกริยา | ปฏิกิริยา |
ปฐมนิเทศก์ | ปฐมนิเทศ |
ประดิษฐ์ประดอย | ประดิดประดอย |
ปราณีต | ประณีต |
บอระเพชร | บอระเพ็ด |
บรรดาล | บันดาล |
บันใด / บรรได | บันได |
บรรเทิง | บันเทิง |
บรรลือ | บันลือ |
บาททะยัก / บาดทยัก | บาดทะยัก |
บำเน็จ | บำเหน็จ |
บุคคลากร | บุคลากร |
เบนซิล | เบนซิน |
ผไท | ไผท |
รสชาด | รสชาติ |
ภาพยนต์ | ภาพยนตร์ |
รำคาน | รำคาญ |
ไอศครีม | ไอศกรีม |
ศรีษะ | ศีรษะ |
สัมนา | สัมมนา |
สัปปะรด | สับปะรด |
หมูหยอง | หมูหย็อง |
อารมย์ | อารมณ์ |
ธำรงค์ | ธำรง |
ธุระกิจ | ธุรกิจ |
นวัฒกรรม | นวัตกรรม |
นะค่ะ | นะคะ |
น้ำแข็งใส | น้ำแข็งไส |
ตัวโน๊ต | ตัวโน้ต |
บันทัด | บรรทัด |
กงศุล | กงสุล |
คำศัพย์ | คำศัพท์ |
โหรพา | โหระพา |
สังเกตุ | สังเกต |
อนุญาติ | อนุญาต |
สังเขบ | สังเขป |
อัญชัญ | อัญชัน |
อานิสงฆ์ | อานิสงส์ |
อาเจียร | อาเจียน |
นาๆ | นานา (จากคำว่า ต่างๆ นานา) |
ShopBack Tips : การเรียนรู้ภาษาไทยและการทำความเข้าใจการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารไม่จำเป็นต้องผ่านการอ่านหรือเขียนเสมอไป เพราะยุค 4.0 แบบนี้ เรามี podcast ไทย ดีๆ เพียบ ! การฟัง podcast ช่วยให้เราเข้าใจการออกเสียงที่เหมาะสม การเน้นจังหวะให้น่าฟัง รวมถึงการเรียบเรียงรูปประโยคและการเล่าเรื่องราวที่น่าติดตาม ใครอยากลองฝึกภาษาไทยแบบไม่น่าเบื่อ การหา podcast ดีๆ ที่มีคุณภาพฟังก็ช่วยได้เหมือนกันนะคะ แต่อย่าลืมว่าอยากฟัง podcast ให้เสียงคมชัด ฟังเพลิน คุณภาพเสียงดี มือถือ ลำโพง หรือหูฟังก็ต้องดีด้วย ช้อปแก็ดเจ็ตดีๆ คุณภาพโดนๆ ได้เลยที่ JD Central แถมประหยัดได้อีกเมื่อช้อปผ่าน ShopBack เพราะได้เงินคืน |
คำทับศัพท์ เขียนอย่างไรให้มั่นใจว่าถูกต้อง ?
นอกจากคำภาษาไทยแล้ว เรายังมีคำที่เรียกว่า “คำทับศัพท์” ซึ่งเป็นคำภาษาต่างประเทศที่ถูกนำมาใช้บ่อยในชีวิตประจำวันด้วย เนื่องจากคำเหล่านี้ไม่ต้องแปลไทยก็เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไร จึงนิยมใช้คำทับศัพท์ไปเลย ซึ่งเวลาพูดอาจจะง่าย แต่พอเขียนจริงหลายคนก็สับสนว่าต้องเขียนอย่างไร สะกดอย่างไร กลายเป็นคำไทยที่มักเขียนผิดไปเสียอย่างนั้น ! ลองมาเช็กการเขียนคำทับศัพท์ที่เราเจอบ่อยๆ ให้ถูกต้องจากราชบัณฑิตยสถานกันดีกว่าค่ะ
คำศัพท์ที่เจอบ่อย | คำไทยที่มักเขียนผิด | การเขียนที่ถูกต้อง |
Antibody | แอนติบอดี | |
Intercom | อินเตอร์คอม | |
Computer | คอมพิวเตอร์ | |
Quantum | ควอนตัม | |
Carbon footprint | คาร์บอนฟุตพรินต์ | |
Lab | แล็ป | แล็บ |
Cell | เซล | เซลล์ |
Pattern | แพทเทิร์น | แพตเทิร์น |
Double | ดับเบิ้ล | ดับเบิล |
General | เจเนอรัล | |
Booking | บุ๊คกิ้ง | บุกกิง |
Electronic | อิเล็กทรอนิกส์ | |
Sulpuric acid | กรดซัลฟิวริก | |
Feudal system | ระบบฟิวดัล | |
Metric system | ระบบเมตริก | |
Cosmic ray | รังสีคอสมิก | |
Arctic Circle | อาร์กติกเซอร์เคิล | |
Normal matrix | เมทริกซ์แบบนอร์แมล | |
Matrix | เมทริกซ์ | |
Plastic | พลาสติก | |
F.B.I | เอฟบีไอ | |
Click | คลิก | |
UNESCO | ยูเนสโก | |
ASEAN | อาเซียน | |
Aluminum | อะลูมิเนียม | |
Arrow | แอร์โรว์ | |
Bar | บาร์ | |
Ward | วอร์ด | |
Aerosphere | แอโรสเฟียร์ | |
Gear | เกียร์ | |
Heart | ฮาร์ต | |
Carbon footprint | คาร์บอนฟุตพรินต์ | |
Water footprint | วอเตอร์ฟุตพรินต์ | |
Digital | ดิจิตอล | ดิจิทัล |
คำศัพท์ไอที เช็กสักนิดจะได้เขียนให้ถูก สำหรับชาวโซเชียล 2020
นอกจากคำทับศัพท์แล้ว ยังมีคำศัพท์ไอทีที่เราใช้บ่อยในโลกออนไลน์แต่หลายคนก็ยังสบสนและเขียนผิด เพราะฉะนั้น ลองมาดูกันค่ะว่าต้องเขียนแบบไหนจึงจะถูกต้อง
คำศัพท์ | คำไทยที่มักเขียนผิด | การเขียนที่ถูกต้อง |
Application | แอพพลิเคชั่น | แอปพลิเคชัน |
Blog | บล็อก | |
Browser | บราวเซอร์ | เบราว์เซอร์ |
Click | คลิ๊ก | คลิก |
Cloud | คลาวด์ | |
Computer | คอมพิวเตอร์ | |
Computing | คอมพิวติ้ง | คอมพิวติง |
Digital | ดิจิตอล | ดิจิทัล |
Directory | ไดเรกทอรี | |
อีเมล์ | อีเมล | |
เฟสบุ๊ก | เฟซบุ๊ก | |
Function | ฟังก์ชั่น | ฟังก์ชัน |
Graphic | กราฟฟิค | กราฟิก |
Internet | อินเตอร์เน็ต | อินเทอร์เน็ต |
Link | ลิงค์ | ลิงก์ |
Mark up | มาร์คอัพ | มาร์กอัป |
Package | แพ็คเกจ | แพ็กเกจ |
Platform | แพลตฟอร์ม | |
Post | โพสต์ | |
Project | โปรเจกต์ | |
Server | เซิร์ฟเวอร์ | |
Smart | สมาร์ท | สมาร์ต |
Tag | แท็ก | |
Update | อัพเดต | อัปเดต |
Version | เวอร์ชั่น | เวอร์ชัน |
Website | เว็ปไซด์ | เว็บไซต์ |
ShopBack Tips : อยากเรียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารหรือการเขียนโดยเฉพาะ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพราะเดี๋ยวนี้เขามีคอร์สเรียนฟรีมากมายหลายคอร์สที่จะมาช่วยให้เรารื้อฟื้นทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทย สำหรับคนอยากต่อยอดและพัฒนาตัวเองเพื่อนำไปใช้ในการทำงานหรือชีวิตประจำวันโดยเฉพาะ แต่ไหนๆ จะเรียนอยู่บ้านทั้งที อย่าลืมเตรียมเสบียงให้พร้อมด้วยการสั่ง LINE MAN เพราะยิ่งมีเสบียงพร้อม ของกินครบ ก็ยิ่งทำให้เราเพลิดเพลินและสนุกกับการเรียนมากขึ้นยังไงหล่ะ อ้อ ! อย่าลืมคลิกสั่งผ่าน ShopBack เพราะรับเงินคืนด้วยนะคะ |
ความสำคัญของการเขียนและใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
- เพื่อการสื่อสารที่ตรงกัน : บางครั้งหากเราสับสนคำไทยที่มักเขียนผิด อาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนจนสื่อสารไม่ตรงกัน ทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิดได้
- เพื่อความเป็นมืออาชีพ : ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือคนวัยทำงาน ถ้าใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง เขียนถูกต้องตามความหมาย ก็เป็นการแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ ทำให้งานของเราดูน่าเชื่อถือ
- เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต : มีงานหลายอาชีพที่ต้องอาศัยทักษะภาษาไทย เช่น นักเขียน นักแปล หรือแม้แต่การทำงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานเอกสาร ดังนั้นหากเราใช้คำภาษาไทยให้ถูกต้องตั้งแต่วันนี้ ก็จะเป็นการเปลี่ยนตัวเองที่ดีเพื่อต่อยอดสู่อาชีพในอนาคตได้ค่ะ
ShopBack Tips : นอกจากภาษาไทยจะมีภาษาราชการหรือภาษากลางที่ใช้พูด อ่าน เขียนกันทั่วไปแล้ว เรายังมีภาษาถิ่นอีกมากมายหลากหลายสำเนียงที่มีการพูดและเขียนต่างกันออกไป ถือเป็นเสน่ห์ของท้องถิ่นนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการอู้คำเมืองแบบชาวเหนือ การเว้าภาษาอีสานแบบชาวอีสาน หรือแหลงใต้สำเนียงทองแดงแบบชาวใต้ ใครที่อยากไปสัมผัสภาษาถิ่นที่มีเสน่ห์ มีความแปลกใหม่ไม่เหมือนใครก็จองตั๋วเครื่องบินและห้องพักกับ Trip.com เพื่อไปสัมผัสกับภาษาไทยประจำถิ่นกันให้ถึงที่ได้เลย ! แล้วอย่าลืมจองผ่าน ShopBack เพื่อรับเงินคืนเข้ากระเป๋ากันด้วยนะคะ |
ที่มาอ้างอิง : nstda.or.th, hroyin.go.th, th.wikipedia.org